วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2554

การอบรมเชิงปฏิบัติการห้องสมุดอัตโนมัติ สพฐ.

การอบรมเชิงปฏิบัติการห้องสมุดอัตโนมัติ สพฐ.
โดยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4
ระหว่างวันที่  11-13  กันยายน 2554 
ณ โรงแรมทองธารินทร์  จังหวัดสุรินทร์
ทั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก  นายธีรวุฒิ  พุทธการี  ผอ.สพป.บร.เขต 4
เป็นประธานในพิธีเปิดการอบรมฯ และบรรยายพิเศษเรื่องห้องสมุดดิจิทัล
 คณะวิทยากร
 
นายอำนวย  พุทธชาติ   

นายราเมศน์  โสมแสน 


นายสิทธิพร  ธรรมรักษา 

นางพิชญ์  สายจีน 


นางนวลฉวี  วงษ์สมบัติ

บรรยากาศการอบรม



วันเสาร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2553

สร้างสังคมแห่งการอ่าน



นายสมบัติ สุวรรณพิทักษ์ รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ร่วมอภิปรายเรื่อง การพัฒนาการอ่านของสถานศึกษาตามนโยบายแนวทางทศวรรษแห่งการอ่าน ซึ่งจัดขึ้นโดยสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี จัดขึ้น ณ โรงแรมแอมบาสเดอร์ เมื่อวันที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๕๓
                 รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า การส่งเสริมให้คนไทยมีนิสัยรักการอ่านต้องเริ่มจากการสอนให้รู้หนังสือ ซึ่งมีทั้งรูปแบบการสอนในโรงเรียน และการสอนแบบการศึกษาตามอัธยาศัยที่ต้องปรับเปลี่ยนวิธีการสอนจากการสอนหนังสือให้เกิดการจดจำ เป็นการสอนโดยสร้างการเรียนรู้เพื่อนำไปต่อยอดในการพัฒนาคุณภาพชีวิต และใช้ในการดำเนินชีวิตได้อย่างทันที นั่นคือหลักการเรียนรู้ที่เน้นเรียนรู้จากทักษะชีวิตและวิถีชีวิต คือการสอนโดยไม่ต้องบังคับให้เรียนรู้แต่เน้นการสอนแบบสอดแทรกวิถีชีวิตเข้าไป ให้ผู้เรียนเกิดความภูมิใจและรักที่จะเรียนรู้ต่อไปอย่างต่อเนื่อง
                 นอกจากนั้น บรรณารักษ์ในห้องสมุดจะต้องมีส่วนร่วมในการส่งเสริมให้เกิดการอ่านในสถานศึกษา และนอกสถานศึกษา ซึ่งในสถานศึกษานั้น บรรณารักษ์จะต้องเป็นผู้ที่คอยเสริมทักษะทางด้านการอ่าน รวมทั้งทำหน้าที่เป็นทั้งครูผู้สอนและครูแนะแนว อีกทั้งต้องเป็นแบบอย่างที่ดีในการอ่านต่อนักเรียนอีกด้วย สำหรับห้องสมุดที่ไม่ได้อยู่ในสถานศึกษาหรือแหล่งเรียนรู้อื่นๆ ควรจะมีการปรับเปลี่ยนห้องสมุดให้มีความน่าสนใจ เหมาะสมกับการเข้าไปอ่านหนังสือ โดยมีการปรับเปลี่ยนให้ห้องสมุดเป็นเสมือนห้องนั่งเล่นภายในบ้านที่ทุกคนต้องการเข้าไปใช้ โดยห้องสมุดควรเน้นองค์ประกอบที่สำคัญคือ บรรยากาศที่สดชื่น คนทำงานที่เป็นมิตร สถานที่มีความสะดวกสบาย หนังสือมีความหลากหลายและใหม่  มีเทคโนโลยีทันสมัยที่พร้อมจะรองรับผู้ที่เข้าไปใช้บริการในห้องสมุด ทั้งนี้ห้องสมุดไม่จำเป็นต้องยึดติดกับขนาดของพื้นที่หรือความหรูหรา แต่ควรคำนึงถึงประโยชน์ที่ผู้ใช้บริการได้รับเป็นสำคัญ
                ศาสตราจารย์พิเศษคุณหญิงแม้นมาส ชวลิต  นายกสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ปัจจุบันคนสามารถเข้าถึงความรู้ได้หลายด้าน เช่น จากการอ่านหนังสือ หรือ จากอินเตอร์เน็ต ซึ่งเป็นผลดีของเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ทำให้คนสามารถเข้าถึงความรู้ได้อย่างกว้างขวางมากขึ้น ถือเป็นส่วนหนึ่งของการส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิต นอกจากนั้นการอ่านยังเป็นการส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้จริง และพัฒนาความรู้ให้กับตนเอง ซึ่งในขณะนี้รัฐบาลได้ประกาศการอ่านให้เป็นวาระแห่งชาติ ส่งผลดีให้ผู้อ่านมีหนังสือดี ทันสมัย ให้เลือกอ่านได้อย่างเต็มที่ อย่างไรก็ตาม การปลูกฝังนิสัยรักการอ่านควรเริ่มตั้งแต่เด็กจนถึงประชาชนทั่วไป โดยสร้างโอกาสการเข้าถึงความรู้ได้อย่างเต็มที่
ที่มา..http://www.moe.go.th

วันอังคารที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ผลไม้เพื่อสุขภาพ

10 ผลไม้ไทยที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง!
กรมอนามัยวิจัย 10 ผลไม้ไทย มีสารต้านมะเร็งสูง นางนัทยา จงใจเทศ นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า จากการทำวิจัยองค์ความรู้เรื่องปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระในผลไม้เพื่อส่งเสริมสุขภาพ (วิตามินซี วิตามินอี และ เบต้าแคโรทีน) ในผลไม้ที่ทำการศึกษาในผลไม้ 83 ชนิด พบว่า
ผลไม้ 10 อันดับแรกที่มีเบต้าแคโรทีนสูงคือ
1. มะม่วงน้ำดอกไม้สุก       2. มะเขือเทศราชินี              3. มะละกอสุก      4. กล้วยไข่
5. มะม่วงยายกล่ำ 6. มะปรางหวาน                 7. แคนตาลูปเนื้อเหลือง     8. มะยงชิด
9. มะม่วงเขียวเสวยสุก 10. สับปะรดภูเก็ต (ผลไม้ทั้งหมดนี้มีเนื้อสีเหลืองและสีเหลืองเข้ม)

ส่วนผลไม้ที่ไม่มีเบต้าแคโรทีนเลย
1. แก้วมังกร                          2. มะขามเทศ                        3. มังคุด
4. ลิ้นจี่                                5. สาลี่

10 อันดับแรกของผลไม้ที่มีวิตามินซีสูงคือ
 1. ฝรั่งกลมสาลี่                     2. ฝรั่งไร้เมล็ด                      3. มะขามป้อม
4. มะขามเทศ                        5. เงาะโรงเรียน                   6. ลูกพลับ
7. สตรอเบอร์รี่                     8. มะละกอสุก                      9. ส้มโอขาว
10. แตงกวา                           11. พุทราแอปเปิล

การศึกษานี้พบผลไม้ที่มีวิตามินอีสูง 10 อันดับแรกคือ
1. ขนุนหนัง                          2. มะขามเทศ                        3. มะม่วงเขียวเสวยดิบ
4. มะเขือเทศราชินี              5. มะม่วงเขียวเสวยสุก       6. มะม่วงน้ำดอกไม้สุก
7. มะม่วงยายกล่ำสุก         8. แก้วมังกรเนื้อสีชมพู    9. สตรอเบอร์รี่ 10. กล้วยไข่
ผลไม้ที่มีเบต้าแคโรทีน วิตามินซี และวิตามินอีน้อยทั้ง 3 ตัว คือ สาลี่ องุ่น และแอปเปิล
ส่วนผลไม้ที่มีสารทั้ง 3 ตัว (เบต้าแคโรทีน วิตามินซี และวิตามินอี)ค่อนข้างสูงคือ มะเขือเทศราชินี
ทั้งนี้ เบต้าแคโรทีน วิตามินซีและอี เป็นกลุ่มของสารอาหารที่ช่วยกำจัดอนุมูลอิสระที่ก่อให้ร่างกายเกิดการอักเสบ ทำลายเนื้อเยื่อ เกิดต้อกระจกในผู้สูงอายุ โรคมะเร็ง โรคหัวใจและหลอดเลือด สารทั้ง 3 ตัว โดยเฉพาะ เบต้าแคโรทีนจะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ยับยั้งการก่อกลายพันธุ์ ป้องกันเนื้องอก ลดความเสี่ยงการเป็นต้อกระจก มะเร็งและหัวใจได้ จึงควรรับประทานผลไม้ในปริมาณมากพอสมควรทุกวัน หรืออย่างน้อยวันละ 4 ส่วนของอาหารที่รับประทาน เพื่อสุขภาพที่ดี.
ที่มา...http://pha.narak.com

วันอังคารที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ทฤษฎีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของแมคคลีแลนด์ McClelland

ทฤษฎีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของแมคคลีแลนด์ McClelland

              ทฤษฎีนี้เน้นอธิบายการจูงใจของบุคคลที่กระทำการเพื่อให้ได้มาซึ่งความต้องการความสำเร็จมิได้หวังรางวัลตอบแทนจากการกระทำของเขา  ซึ่งความต้องการความสำเร็จนี้ในแง่ของการทำงานหมายถึงความต้องการที่จะทำงานให้ดีที่สุดและทำให้สำเร็จผลตามที่ตั้งใจไว้  เมื่อตนทำอะไรสำเร็จได้ก็จะเป็นแรงกระตุ้นให้ทำงานอื่นสำเร็จต่อไป  หากองค์การใดที่มีพนักงานที่แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์จำนวนมากก็จะเจริญรุ่งเรืองและเติบโตเร็ว
              ในช่วงปีค.ศ. 1940s  นักจิตวิทยาชื่อ David I. McClelland  ได้ทำการทดลองโดยใช้แบบทดสอบการรับรู้ของบุคคล (Thematic Apperception Test (TAT)) เพื่อวัดความต้องการของมนุษย์ โดยแบบทดสอบTAT เป็นเทคนิคการนำเสนอภาพต่างๆ แล้วให้บุคคลเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งที่เขาเห็น จากการศึกษาวิจัยของแมคคลีแลนด์ได้สรุปคุณลักษณะของคนที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์สูงมีความต้องการ 3 ประการที่ได้จากแบบทดสอบTAT ซึ่งเขาเชื่อว่าเป็นสิ่งสำคัญในการที่จะเข้าใจถึงพฤติกรรมของบุคคลได้ดังนี้
              1.ความต้องการความสำเร็จ (Need for Achievement (nAch)) เป็นความต้องการที่จะทำสิ่งต่างๆให้เต็มที่และดีที่สุดเพื่อความสำเร็จ  จากการวิจัยของ McClelland  พบว่า  บุคคลที่ต้องการความสำเร็จ (nAch) สูง  จะมีลักษณะชอบการแข่งขัน  ชอบงานที่ท้าทาย  และต้องการได้รับข้อมูลป้อนกลับเพื่อประเมินผลงานของตนเอง  มีความชำนาญในการวางแผน  มีความรับผิดชอบสูง และกล้าที่จะเผชิญกับความล้มเหลว
              2.ความต้องการความผูกพัน (Need for Affiliation (nAff))  เป็นความต้องการการยอมรับจากบุคคลอื่น  ต้องการเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม  ต้องการสัมพันธภาพที่ดีต่อบุคคลอื่น บุคคลที่ต้องการความผูกพันสูงจะชอบสถานการณ์การร่วมมือมากกว่าสถานการณ์การแข่งขัน  โดยจะพยายามสร้างและรักษาความสัมพันธ์อันดีกับผู้อื่น
              3.ความต้องการอำนาจ (Need for power (nPower))  เป็นความต้องการอำนาจเพื่อมีอิทธิพลเหนือผู้อื่น  บุคคลที่มีความต้องการอำนาจสูง  จะแสวงหาวิถีทางเพื่อทำให้ตนมีอิทธิพลเหนือบุคคลอื่น  ต้องการให้ผู้อื่นยอมรับหรือยกย่อง  ต้องการความเป็นผู้นำ  ต้องการทำงานให้เหนือกว่าบุคคลอื่น  และจะกังวลเรื่องอำนาจมากกว่าการทำงานให้มีประสิทธิภาพ
จากการศึกษาพบว่าพนักงานที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์สูงมักต้องการจะทำงานในลักษณะ 3 ประการดังนี้
              1.งานที่เปิดโอกาสให้เขารับผิดชอบเฉพาะส่วนของเขา และเขามีอิสระที่จะตัดสินใจและแก้ปัญหาด้วยตนเอง
              2.ต้องการงานที่มีระดับยากง่ายพอดี ไม่ง่ายหรือยากจนเกินไปกว่าความสามารถของเขา
              3.ต้องการงานที่มีความแน่นอนและต่อเนื่องซึ่งสร้างผลงานได้และทำให้เขามีความก้าวหน้าในงานเพื่อจะพิสูจน์ตนเองถึงความสามารถของเขาได้
              นอกจากงานในลักษณะดังกล่าวแล้วแมคคลีแลนด์ได้พบว่าปัจจัยที่สำคัญอีกปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อการทำงานเพื่อให้ได้ผลงานที่มีประสิทธิภาพคือสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมกับงานที่เขาทำด้วย


อ้างอิงข้อมูลมาจาก
http://pirun.ku.ac.th

วันพุธที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมห้องสมุดโรงเรียนบ้านกระสัง

 รางวัลโรงเรียนรักการอ่านและห้องสมุดมีชีวิตยอดเยี่ยม สพป.บร 4 ปี 2552
เข้ารับการอบรมหลักสูตรบรรณารักษ์ (master teacher) ณ โรงแรมเทพนคร
                  ศึกษาดูงานโรงเรียนอนุบาลลำปลายมาศและอบรมการใช้โปรแกรม PLS ที่โรงแรมเวียนนา

วันอาทิตย์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

เรียนรู้และเข้าใจ Tense ภาษาอังกฤษอย่างทะลุปรุโปร่ง

เทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา




การนำเอาเทคโนโลยีทางการศึกษาไปใช้ในกระบวนการเรียนการสอนนั้น เรามักจะพบ ว่าเมื่อสถานการณ์ของการใช้เปลี่ยนแปลงไป เช่น ชั้นเรียนที่ผู้เรียนเปลี่ยนไป หรือเวลาที่ต่างกัน สิ่งเหล่านี้ มีผลต่อประสิทธิภาพของวิธีการที่ผู้สอนนำไปใช้ในการเรียนการสอนทั้งสิ้น ในกรณีที่ใช้วิธีการนั้นต่อไป ซึ่งนับว่าเป็นการใช้เทคโนโลยี แต่ในกรณีที่ประสิทธิภาพลดลง ก็มีความจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงวิธีการนั้น ๆ หรืออาจต้องหาวิธีการใหม่ ๆ มาใช้ สิ่งใหม่ที่นำมาใช้หรือวิธีการที่ได้รับนำเอาการปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพนี้เรียกว่า นวัตกรรม (Innovation)

นวัตกรรม = นว (ใหม่) + อัตตา (ตนเอง) + กรรม (การกระทำ)

ในการดำเนินกิจกรรมด้านต่าง ๆ มักจะเผชิญปัญหาต่าง ๆ มากมายมนุษย์จึงพยายามสร้างนวัตกรรมขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหา เพื่อเปลี่ยนจากสภาพที่เคยเป็นอยู่ไปสู่สภาพที่อยากเป็น นวัตกรรมจึงเข้าไปเกี่ยวข้องกับวงการต่าง ๆ เช่น นวัตกรรมทางการแพทย์ นวัตกรรมทางการเกษตร นวัตกรรมทางอุตสาหกรรม นวัตกรรมทางการบริหาร นวัตกรรมทางการประมง นวัตกรรมทางการสื่อสาร นวัตกรรมทางการศึกษา ฯลฯ เป็นต้น

ลักษณะของนวัตกรรม สิ่งที่ต้องจัดว่าเป็นนวัตกรรม ควรประกอบด้วยลักษณะ ดังนี้

1. จะต้องเป็นการสร้างสรรค์ขึ้นใหม่ (creative) และเป็นความคิดที่สามารถปฏิบัติได้ (Feasible ideas)
2. จะต้องสามารถนำไปใช้ได้ผลจริงจัง (practical application)
3. มีการแพร่ออกไปสู่ชุมชน (diffusion through)

ที่มา http://www.nrru.ac.th/preelearning/rungrot/page01006.asp